บทความน่าอ่าน

รวมสร้างสรรค์ สร้างความจริงที่ควรรู้ กับบทความที่น่าอ่าน โดย Momentum

Subscribe

แนวข้อสอบเรื่องพลังงานทดแทน 50 ข้อ





1.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนมีระยะเวลากี่ปี...................... 15 ปี (2551-2565 : ระยะสั้น 2551-2554 ระยะกลาง 2555-2559 ระยะยาว 2560-2565)





2.แผนนี้เสนอต่อใคร...................คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตาม พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535





3.เป้าหมายของแผนคือ.........เพื่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศในปี 2565





4.หน่วย ktoe คือ........พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ( 1ktoe = 42,200 GJ และ100 ktoe = 438,669 ตัน)











5. ลมบกและลมทะแลต่างกันอย่างไร..............ลมบกพัดออกทะเลในตอนหัวค่ำส่วนลมทะเลพัดเข้าฝั่งในตอนเช้า





6.ลมเกิดจาก.......มวลของอากาศที่มีการเคลื่อนที่ถ่ายเทจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (เกิดจากความแตกต่างของสภาพอากาศ, อุณหภมิ, การหมุนของโลก,สิ่งกีดขวางทางฟิสิกส์)





7.การพัฒนากังหันลมเพื่อใช้ในงานกี่รูปแบบ..........2 รูปแบบ (พัฒนากังหันลมสูบน้ำและกังหันลมผลิตไฟฟ้า)





8. กฝผ.มีการใช้ติดตั้งกังหันลมขนาด 10 kW (ขนาดเล็ก) เพื่อทำงานร่วมกับ Solar Cell เพื่อบรรจุแบตเตอรี่ 150 kW ที่ไหน....แหลมพรหมเทพ





9.นอกจากนี้มีที่ไหนอีก............ภูกระดึง (เลย), ตะรุเตา (สตูล) และที่เกาะจันทร์ (ชลบุรี), หัวไทร (นครศรี), สทิงพระ (สงขลา)



เสริม...........



RPS คืออะไร............... แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Portfolio Standard : RPS) ซึ่งแผนการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลม ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผน โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ขนาด กำลังผลิตรวม ๒ เมกะวัตต์ ประกอบด้วยกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด ๑ เมกะวัตต์ จำนวน ๒ ชุด ติดตั้งบริเวณพื้นที่อ่างพักน้ำตอนบน เฉลี่ยราคาต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ๕.๔๐ บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้ากังหันลมกำลังผลิตสูงที่สุดที่จะผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์



10.เทคโนโลยีพลังานแสงอาทิตย์นำไปใช้ในกี่รูปแบบ..........2 รูปแบบ (นำไปผลิตไฟฟ้าและนำไปผลิตน้ำร้อน)

11.ส่วนเทคโนโลยีการผลิตไฟ้ฟ้าด้วยแสงอาทิตย์จำแนกเป็นกี่ระบบ ..........2 ระบบ (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลส์แสงอาทิตย์และผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนแสงอาทิตย์)




12.ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system) ใช้ใน....................ชนบท




13.ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system) จะผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ...............ระบบจำหน่ายไฟฟ้า National Grid (ไม่มีแบตเตอรี่ กลางวันจ่ายให้โหลดโดยตรง)




14.ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)ทำงานร่วมกับ.................เครื่องยนต์ดีเซล พลังงานลมและไฟฟ้าพลังน้ำ (ใช้แบตเตอรี่ในตอนกลางคืน)




15.ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนแสงอาทิตย์แบบ Parabolic Troughs แบบ Central Receivers และแบบ Parabolic Dishes ใช้หลักการอะไร ..................หลักการรวมแสง




16.เทคโนโลยีการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ มีกี่รูปแบบ .......2 รูปแบบ (แบบอบแห้งโดยใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์และแบบผสมผสาน)




17.การอบแห้งระบบ Passive............ใช้ลมธรรมชาติ---การอบแห้งระบบ Active.......ใช้พัดลมช่วย---การอบแห้งระบบ Hybrid........ใช้พัดลมและพลังงานอื่นร่วมด้วยกรณีแสงอาทิตย์ไม่พอ




18.ชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ (Thermosiphon system) ถังน้ำอยู่ระดับใดกับแผงรับแสงอาทิตย์................เหนือแผงรับแสงอาทิตย์




19.ด้านนโยบายการส่งเสริมเทคโนโลยีเซลส์แสงอาทิตย์ออกมาจากคำสั่งใด............คำสั่งนายกฯ ก.ค 2547




20.โดยมีการแต่งตั่งคณะทำงานส่งเสริมและพัฒนาเซลส์แสงอาทิตย์ เพื่อจัดทำอะไรขึ้น.......แผนแม่บทการส่งเสริมและพัฒนาเซลส์แสงอาทิตย์




21. พ.ย. 2548 กพช.(คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ) มีคำสั่งให้จัดตั้งคณะกรรมการใด....คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทน




22.พลังงานทดแทนที่ว่านั้นหมายถึงอะไร.....พลังงานจากน้ำ แสงอาทิตย์ ชีวมวล ขยะ ลม ความร้อนใต้พิภพ และคลื่น เป็นต้น




23.พลังงานทดแทนโดยปกติของกรมพัฒาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานหมายถึงอะไร.......พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น




24เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel)คืออะไร............ เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล ซึ่งเป็น สิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลวัว




25.เชื้อเพลิงชีวภาพมีกี่ประเภท.............3ประเภท (ของแข็ง, ของเหลว, ก๊าซ)




26.เชื้อเพลิงชีวภาพเข็ง(Biomass) คืออะไรและมีอะไรบ้าง......คือสารอินทรีย์ที่เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ,ชานอ้อย ,เศษไม้ได้ จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัส กากปาล์มได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออก จากผลปาล์มสด กากมันสำปะหลังได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ซังข้าวโพดได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออก กาบและกะลามะพร้าว




27.เชื้อเพลิงชีวภาพเหลว (Liquid biofuel) มีอะไรบ้าง......เชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ ,เอทานอล ผลิตจาก อ้อย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง รถยนต์ ใช้มากใน ประเทศบราซิล เอทานอลที่ผลิตจาก ข้าวโพดซึ่งใช้เป็น ออกซิเจเนเตอร์ (oxygenator) ใน USA, เมทานอล ซึ่งผลิตได้จาก ก๊าซธรรมชาติ , บิวทานอล (Butanol) ผลิตภัณฑ์น้ำมันทางชีวภาพ (น้ำมันชีวภาพ) สามารถใช้ได้ในเครื่อง ดีเซล, ไบโอดีเซล ได้จาก ทรานสเอสเตอริฟิเคชัน (transesterification) ของ ไขมัน สัตว์ และ น้ำมัน พืช ซึ่งสามารถใช้ในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม



28.แก๊สโซฮอล์คือ...............ส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งเอทานอลสามารถผลิตได้จากพืชที่ปลูกในประเทศ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง รวมทั้งธัญพืช เช่น ข้าวฟ่าง ข้าว และ ข้าวโพด เป็นต้น โดยการหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลและเป็นเอลกอฮอล์ และกลั่นให้บริสุทธิ


เสริม.....



E85 Plus คือน้ำมันน้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอลชนิดความบริสุทธิ์ 99.5% อยู่ระหว่างร้อยละ 75 - 85 กับน้ำมันเบนซินพื้นฐาน สามารถใช้เติมในรถยนต์ที่ผลิตให้สามารถรองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีส่วนผสมของเอทานอลในสัดส่วนที่สูงได้ หรือเรียกว่า รถยนต์ E85 หรือ Flex Fuel Vehicle (ราคา 18.02 บาท)
E20 Plus คือน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน 20% เพื่อรองรับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2551 (2008) เฉพาะรุ่นและยี่ห้อที่ระบุว่าสามารถใช้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20*** ได้เท่านั้น (ราคา 24.64)



น้ำมันแก๊ซโซฮอล์ 95หรือ E10 ผลิตจากน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ผสมกับเอทานอล โดยผสมในอัตราส่วนเบนซิน 90 ส่วน เอทานอล 10 ส่วน ใช้แทนน้ำมันเบนซิน 95 ที่ใช้สาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ที่มีผลเสียคือ ทำให้เกิดการปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินและน้ำดื่ม สำหรับ



--------------น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 91 (แก๊สโซฮอล์ 91)....ราคา 26.14 บาท



--------------น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี10 ออกเทน 95 (แก๊สโซฮอล์ 95) .....ราคา 26.94 บาท



เสริม น้ำมันของปตท......



DELTA-X คือน้ำมันดีเซลทั่วไปแต่เพิ่มสารเอ็กซ์ตร้า คลีน (Extra Clean) ช่วยชะล้างคราบสกปรกที่หัวฉีดน้ำมัน ทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น ยังลดปริมาณกำมะถันลงจากเดิมถึง 30% (จาก 0.05% เหลือไม่เกิน 0.035%) ตามมาตรฐานสากลระดับยูโร ทรี ช่วยลดมลภาวะในอากาศ (ราคา 23.99 บาท)



29.ไบโอดีเซล คืออะไร...........คือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตมาจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ โดยผ่านขบวนการที่ทำให้โมเลกุลเล็กลง ให้อยู่ในรูปของ เอทิลเอสเตอร์ (Ethyl esters) หรือ เมทิลเอสเตอร์ (Methyl esters) ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้โดย



เสริม.....



B5 Plus คือมีส่วนผสมของไบโอดีเซล (B100) คุณภาพสูงจากโรงงานในอัตราส่วน5% พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดเครื่องยนต์ด้วยสาร Clean Power Plus (ราคา 20.99 บาท)






30.เชื้อเพลิงชีวภาพประเภทของก๊าซ (แก๊สชีวภาพ-Biogas) มีอะไรบ้าง.........ไบโอ-มีเทน เกิดจากการสลายตัวตามธรรมชาติของ ของเสีย หรือ ขยะมูลฝอย , ก๊าซไม้ สามารถสกัดได้จาก ไม้ และสามารถใช้ในเครื่องยนต์ได้, ไฮโดรเจน ผลิตได้จาก น้ำ โดย อิเล็กโตรไลสิส (electrolysis) หรือ โดย การแตก ของเชื้อเพลิง ไฮโดรคาร์บอน ใน ไฮโดรเจนรีฟอร์เมอร์ และโดยกระบวนการหมัก ก๊าซสิฟิเคชัน (Gasification) ที่ได้ผลผลิตออกมาคือ คาร์บอนโมนอกไซด์ (carbon monoxide)




31.แก๊สชีวภาพคืออะไร.......เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน (anaerobic process) โดยที่แก๊สชีวภาพจะมีก๊าซมีเทน (CH4) เป็นองค์ประกอบหลักอยู่ประมาณ 50 – 80 % นอกนั้นเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมีก๊าซ H2S, N2, H2 อีกเล็กน้อย ปัจจุบันสารอินทรีย์ที่นิยมนำมาผ่านกระบวนการนี้แล้วให้แก๊สชีวภาพ คือ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานเบียร์ โรงงานผลไม้กระป๋อง เป็นต้น รวมทั้งน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์






31.พลังงานจากขยะคือ........กระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ (MSW Gasification) เป็นกระบวนการทำให้ขยะเป็นก๊าซโดยการทำปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์ (partial combustion) กล่าวคือสารอินทรีย์ในขยะจะทำปฏิกิริยากับอากาศหรือออกซิเจนปริมาณจำกัด






32.ยุทธศาสตร์พลังงานในปี 2554 จะต้องมีการติดตั้งระบบผลิตพลังงานในรูปไฟฟ้าจากขยะชุมชน จำนวนกี่ MW .............100 MW


33. RDF คืออะไร................ขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel; RDF) เป็นขยะมูลฝอยที่ผ่านกระบวนการจัดการต่างๆ เช่น การคัดแยกวัสดุที่เผาไหม้ได้ออกมา การฉีกหรือตัดขยะมูลฝอยออกเป็นชิ้นเล็กๆ มีค่าความร้อนสูงและมีองค์ประกอบทั้งทางเคมีและกายภาพสม่ำเสมอกว่าขยะเดิมๆ





34.Fuel Cell (ของพลังงานไฮโดรเจน) คืออะไร..............เซลล์เชื้อเพลิง คือ อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี-ไฟฟ้า ระหว่างออกซิเจนกับไฮโดรเจนซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานของเชื้อเพลิง ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านการเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงนี้ไม่ก่อมลภาวะทางอากาศ ทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ 1-3 เท่า ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์เชื้อเพลิง และชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้